วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556


องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบในระบบสารสนเทศ

คือส่วนต่าง ๆ ที่ทำให้ระบบสารสนเทศทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มี 5 ส่วนคือ
  1. บุคคลากร
  2. ซอฟต์แวร์
  3. ฮาร์ดแวร์
  4. ระเบีียบปฏิบัติการ
  5. ข้อมูล

ซอฟต์แวร์ระบบ

ซอฟต์แวร์ระบบ หรือ system software คือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ใด ๆ ก็ตามที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุมฮาร์แวร์ ซึ่งทำให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถทำงานได้. ระบบปฏิบัติการ เช่น Microsoft Windows, Mac OS X, Linux ฯลฯ นับเป็นซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี. คำว่าซอฟต์แวร์ระบบนี้แตกต่างจาก ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้ทั่วไป (end user) ใช้ในการทำงานเฉพาะอย่างเพื่อเพิ่มผลิตภาพ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ, โปรแกรมตกแต่งรูป
ตัวอย่างงานของซอฟต์แวร์ระบบ เช่น การนำข้อมูลจากหน่วยความจำลงสู่ดิสค์, การแสดงตัวอักษรและภาพบนอุปกรณ์แสดงผล. รูปแบบของซอฟต์แวร์ระบบ ได้แก่
  • โปรแกรมช่วยโหลด
  • ระบบปฏิบัติการ
  • device drivers
  • เครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรม
  • compilers
  • assemblers
  • linkers
  • ยูทิลิตี (utility)

ระบบปฏิบัติการ

SkyOS เป็นระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ที่เขียนขึ้นสำหรับสถาปัตยกรรม x86 โดยนาย Robert Szeleney และพวก SkyOS (อ่าน สกายโอเอส)

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) เป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์โดยตรงเพื่อทำในสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ แตกต่างจาก ซอฟต์แวร์ระบบตรงที่ของซอฟต์แวร์ระบบจะรวมหน่วยความสามารถของคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันให้พร้อมทำงานได้ แต่ยังไม่ได้ประยุกต์เข้ากับการแก้ปัญหาตามความต้องการของผู้ใช้โดยตรง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ได้แก่
  • โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) เช่น Micosoft Word, OpenOffice Writer เป็นต้น
  • โปรแกรมตารางงาน (spreadsheet) เช่น Microsoft Excel, OpenOffice Calc เป็นต้น
  • โปรแกรมนำเสนอ (presentation) เช่น Microsoft Powerpoint, Openoffice Impress เป็นต้น

Presentation

Presentation หรือ การนำเสนอ เป็นการแสดงเนื้อหาและอธิบายประเด็นต่าง ๆ ให้กับผู้ฟัง. โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเนื้อหาสำหรับการนำเสนอ ได้แก่ OpenOffice.org Impress, Apple Keynote และ Microsoft PowerPoint เป็นต้น

ระบบสารสนเทศนั้นจะประกอบด้วย
1.ข้อมูล (Data) หมายถึง ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
2.สารสนเทศ (Information) คือ กลุ่มข้อมูลที่ถูกตามกฎเกณฑ์ตามหลักความสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น
3.การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ

     ถ้าต้องการประมวลผลรายงานการเรียนของนักเรียนได้อย่าง ถูกต้อง รวดเร็ว ทันการ ระบบการจัดการสารสนเทศนั้น เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ประการแรกคือ บุคลากรหรืออาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา ประการที่สอง คือ หากมีการบันทึก ข้อมูลก็ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร ประการที่สาม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องช่วยให้การทำงานให้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้แม่นยำถูกต้อง ประการที่สี่ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ

จงบอกความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ




 
                ระบบสารสนเทศ  คือ   กระบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลระดับบริหาร
                เทคโนโลยีสารสนเทศ  คือ  เทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผนจัดการและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ





เทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้ 
                1. ระบบประมวลผล
                2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
                3. การจัดการข้อมูล
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ   หมายถึง  ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กรอย่างมีหลักเกณฑ์ มีหน้าที่หลัก ประการคือ
                1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ
                2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานและการบริหารงานของผู้บริหาร
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 
                1. เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
                1.1 ฐานข้อมูล
                1.2 เครื่องมือประกอบด้วยส่วนสำคัญ
              - อุปกรณ์ คือ ตัวเครื่องหรือส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
              - ชุดคำสั่ง คือ ชุดคําสั่งที่ทําหน้าที่รวบรวม และจัดการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารงาน
                2. วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล
                3. การแสดงผลลัพธ์


 ลักษณะสารสนเทศที่ดี

เนื้อหา (Content)
  • ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
  • ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
  • ความถูกต้อง (accuracy)
  • ความเชื่อถือได้ (reliability)
  • การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
  • ชัดเจน (clarity)
  • ระดับรายละเอียด (level of detail)
  • รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
  • สื่อการนำเสนอ (media)
  • ความยืดหยุ่น (flexibility)
  • ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
  • ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
  • การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
  • มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process)
  • ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
  • การมีส่วนร่วม (participation)
  • การเชื่อมโยง (connectivity)

องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

        ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people)



- ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และ ผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
- ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
- ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
- เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร
- กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
- คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ


ข้อมูลและสารสนเทศต่างกันอย่างไร


ข้อมูลและสารสนเทศมีความแตกต่างกันอย่างไร
ข้อมูลหมายถึงอะไร
ข้อมูล (Data)   หมายถึง  ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่       ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะ  ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ
ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น          

    สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ       เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไป   ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหตือตอบ
 ปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ใน รูปที่มีความหมาย  สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

  คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี
     1. ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสีย  อย่างมาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้างข้อมูล ที่ออก แบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด   โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศส่วนใหญ่มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบ
            ระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
     2. ความรวดเร็ว  และเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้
            มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ
            มีการออกแบบระบบการเรียนค้น และรายงานตามผู้ใช้

    3. ความสมบูรณ์  ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย
           ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้
           ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
    4. ความชัดเจนและกะทัดรัด  การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมาก
           จึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้  มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูล
           ให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
     5. ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการ
          ของหน่วยงานและองค์การดูสภาพการใช้ข้อมูลความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูล
          ที่สอดคล้องกับความต้องการ  





ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
          1) ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Numeric Data) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่
                   สามารถนำไปคำนวณได้ข้อมูลแบบนี้เขียนได้หลายรูปแบบ คือ
               - เลขจำนวนเต็ม  หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12, 9, 137 , 8319 , -46
               - เลขทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12                     
                  หรือเป็นจำนวนที่มีเศษทศนิยมก็ได้  เช่น 12.763      เลขทศนิยมแบบนี้สามารถเขียนได้
            2) รูปแบบคือ
               - แบบที่ใช้การทั่วไป    เช่น 12., 9.0 ,17.63, 119.3267 , -17.34    
               - แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์  

               -123. x 104            หมายถึง 1230000.0
               -13.76 x 10-3        หมายถึง 0.01376
               - 1764.0 x 102      หมายถึง -176400.0
               - 1764.10-2          หมายถึง -17.64
           2) ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character Data) หมายถึง ข้อมูลที่ ไม่สามารถนำ
                ไปคำนวณได้ แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ เช่น การเรียงลำดับตัวอักษร ข้อมูลอาจ
                 เป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใด ๆ เช่น   COMPUTER, ON-LINE,
                1711101,&76


                ประเภทของข้อมูล 
                ถ้าจำแนกข้อมูลออกเป็นประเภท จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
          1. ข้อมูลปฐมภฺมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม หรือบันทึก
                จากแหล่งข้อมูลโดยตรงซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจและ
                การจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วย เครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง
                เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก
          2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว
              บางครั้งอาจมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ   เช่น    สถิติจำนวนประชากร
              แต่ละจังหวัด สถิติการนำสินค้าเข้า และการส่งสินค้าออก เป็นต้น


สารสานเทศหมายถึง
เทคโนโลยีสารสนเทศคือ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
                ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ  (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน

ความหมายของข้อมูล
                ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว

ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้

ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
    - ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
    - ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
    - ความถูกต้อง (accuracy)
    - ความเชื่อถือได้ (reliability)
    - การตรวจสอบได้ (verifiability)

รูปแบบ (Format)
    - ชัดเจน (clarity)
    - ระดับรายละเอียด (level of detail)
    - รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
    - สื่อการนำเสนอ (media)
    - ความยืดหยุ่น (flexibility)
    - ประหยัด (economy)

เวลา (Time)
    - ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
    - การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
    - มีระยะเวลา (time period)

กระบวนการ (Process)
    - ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
    - การมีส่วนร่วม (participation)
    - การเชื่อมโยง (connectivity)

ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อใช้ในหารวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน



องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
                ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people)
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และผลิต      เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
- ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
- ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
- เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร
- กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
- คน (People)  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ประสิทธิภาพ (Efficiency)
     - ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย







3G

3G มาจากคำว่า 3rd Generation คือ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนทีระบบ 2G ที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน โดย กสทช. จะจัดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่อนความถี่ 2.1 Hz หรือ 2100MHz ในวันนี้ (16 ตุลาคม 2555) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือในการรับ-ส่งข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย และแข่งขันด้านโทรคมนาคมกับต่างประเทศได้ 

 


4G



สิ่งที่น่าสนใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยี 4G ก็เป็นผลมาจากจุดอ่อนของระบบ 3G นั่นเอง โดยที่ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลกได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินสูงถึงหนึ่งแสนล้านดอลล่าร์ เพื่อซื้อใบอนุญาตใช้สิทธิในการประกอบการโทรคมนาคมเครือข่าย 3G เพียงเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่สามารถสื่อสารแบบมัลติมีเดียแบบเคลื่อนที่ได้ แต่การนำมาใช้จริงกลับกลายเป็นทำได้ยากกว่าที่คาดไว้ และยังมีการลงทุนทางด้านเครือข่ายและการบำรุงรักษาเครือข่ายที่สูง จึงสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ประกอบกิจการที่กำลังจะพัฒนาระบบจาก 2.5G สู่ 3Gโดยสรุปแล้วแรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G มีดังนี้ คือ  ความสามารถในการทำงานของ 3G อาจจะไม่เพียงพอที่จะสนองตอบความต้องการของแอพพลิเคชั่นสูงๆ อย่างเช่น มัลติมีเดีย, วิดีโอแบบภาพเคลื่อนไหวที่เต็มรูปแบบ (Full-motion video) หรือการประชุมทางโทรศัพท์แบบไร้สาย (Wireless teleconferencing) ทำให้เกิดความต้องการเทคโนโลยีเครือข่ายที่จะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ 3G โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่มากด้วย
 มาตรฐานที่ซับซ้อนของ 3G ทำให้ยากในการเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่าย แต่เราต้องการใช้งานแบบเคลื่อนที่และพกพาไปได้ทั่วโลก
 นักวิจัยต้องการให้รูปแบบการส่งคลื่นทางเทคนิคมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการส่งข้อมูลที่เร็วกว่า 10 Mbps ซึ่งไม่สามารถทำได้ในโครงสร้างของ 3G
 ระบบ 4G เป็นระบบเครือข่ายแบบ IP digital packet ทำให้สามารถส่ง Voice และ Data ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยราคาการให้บริการที่ถูกมากและมีรูปแบบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 


5G

 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2555 เว็บไซต์เทเลกราฟของอังกฤษรายงานว่า รัฐบาลอังกฤษร่วมกับมหาวิทยาลัยประจำเมืองเซอร์รีย์ และบริษัทชั้นนำในอุตสาหกกรรมโทรคมนาคม อาทิ Huawei, Samsung, Telefonica Europe และ Fujitsu Labs ในการวิจัยพัฒนาและทดลองโครงการ "5G Innovation Centre" มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 5 (5th Generation cellular communications) เพื่อออกแบบสร้างมาตรฐาน เตรียมพร้อมในการพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต ซึ่งขณะนี้มีการตั้งศูนย์วิจัยแห่งใหม่เพื่อศึกษาเครือข่าย 5G โดยเฉพาะ

          อย่างไรก็ตาม ข่าวการวิจัย 5G สร้างความสงสัยให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยทีเดียว เนื่องจากมองว่า เทคโนโลยี 4G LTE ก็เพิ่งเปิดตัวไม่นาน อีกทั้งมีเพียงไม่กี่ประเทศที่มีการใช้งาน ขณะที่อังกฤษเองก็จะเริ่มให้บริการ 4G ในปีหน้า ดังนั้นจะเร่งรีบพัฒนาไปทำไม


เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ราฮิม ทาฟาซอลลี หัวหน้าศูนย์วิจัยระบบการสื่อสารโทรคมนาคม จากมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ เปิดเผยว่า การเติบโตของแอพพลิเคชั่นใหม่ที่ใช้ทำงานบนเครือข่ายพัฒนาไปรวดเร็วมาก ยิ่งมีมือถือมากขึ้นก็หมายความว่าความต้องการเข้าอินเทอร์เน็ตก็ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้อัตรา Data Traffic เติบโตอย่างไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยี 5G ที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ก็เพื่อให้ใช้คลื่นวิทยุที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งตอนนี้การศึกษาเรื่อง 5G ได้เริ่มต้นไปเรียบร้อยแล้ว ถ้าสำเร็จก็อาจทำให้อังกฤษมี 5G ใช้ก่อนประเทศอื่น ไม่เหมือนกับ 4G ที่เพิ่งจะได้ใช้หลังประเทศอื่น
          ทั้งนี้ ทางรัฐบาลอังกฤษจะเป็นฝ่ายออกงบประมาณแรกเริ่มให้ก่อนเป็นจำนวน 35 ล้านปอนด์ และอีก 24 ล้านปอนด์นั้นจะมาจากภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังเป็นเพียงแค่ก้าวแรก ๆ เท่านั้น และคาดว่าโครงการจะมีกำหนดเสร็จสิ้นพร้อมใช้งานได้จริงในเบื้องต้นในปี 2020 (พ.ศ. 2563) โดยมีความเร็วสูงสุด 10Gpbs หรือเฉลี่ยความเร็วในขณะเคลื่อนที่ต่อคนอยู่ท200Mbps



ความแตกต่างของ 3G 4G

 3G และ 4G เทคโนโลยีใหม่มาแรง
 
      
เมื่อก่อนเราใช้โทรศัพท์เป็นโทรศัพท์ คือใช้โทรได้อย่างเดียว นั้นเรียกว่ายุค 1G พอยุค 2G โทรศัพท์ก็สามารถถ่ายรูปได้ ส่งข้อความได้ ส่งอีเมล์ได้ แต่ยังติดขัดอยู่ในเรื่องของสัญญาณติดๆ ขัดๆ เวลาเคลื่อนไหว ส่วน 3G จริงๆ แล้วก็คือระบบโทรศัพท์ที่พัฒนาอีกขั้นหนึ่งให้มีการเชื่อมต่อตลอดเวลา ในเรื่องของข้อมูล เฉพาะฉะนั้นในด้านการเชื่อมต่อข้อมูลจะดีกว่า อีกทั้งยังไม่ได้คิดราคาตามเวลาการใช้ แต่จะคิดตามอัตราการโหลดข้อมูล และมีความเร็วในการใช้งานที่มากขึ้น เพราะฉะนั้นโทรศัพท์ในยุค 3G จึงไม่ใช่แค่เพียงโทรศัพท์อีกต่อไป 3G ทำให้การพูดคุยสามารถเห็นหน้ากันได้ หรือไม่ว่าจะเป็นเรื่องของซอฟท์แวร์ก็จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในโทรศัพท์ ก็คืออีกสักหน่อยโทรศัพท์อาจจะส่งสัญญาณให้ควบคุมสิ่งของที่บ้าน เช่น ส่งให้เปิดปิดตู้เย็น เปิดปิดหม้อหุงข้าว เป็นต้น หรือข้อมูลอะไรต่างๆ ที่มีพื้นที่การเก็บข้อมูลมากๆ 3G ก็จะให้ประโยชน์เหล่านี้นั้นเอง อย่างเช่น แผนที่เราก็สามารถดาวน์โหลดได้จากอินเตอร์เนตเข้ามาที่โทรศัพท์โดยผ่านระบบ3G นี้ได้เลย 
 
4 G เทคโนโลยีใหม่ 
 
       
คำว่า 3G ในเรื่องของโทรศัพท์ก็คือมาตรฐานการพัฒนาซึ่งแบ่งเป็นยุคๆ ตั้งแต่ยุค 1G ที่โทรศัพท์เป็นแบบเซลลูล่าอันใหญ่ๆ ใช้สัญญาณอนาลอก หรือสัญญาณคลื่นวิทยุซึ่งเกิดในปี 1981 ยุคต่อมาคือ 2G เริ่มในปี 1992 โดยใช้ระบบดิจิตอล คือการนำสัญญาณเสียงมาบีบอัดให้เล็กลงจนเป็นสัญญาณอิเล็กโทรนิค ต่อมาในปี 2001 ก็เริ่มมีการใช้โทรศัพท์ 3G ที่ญี่ปุ่นเป็นที่แรกที่นำระบบ 3G เข้ามาใช้จนถึงทุกวันนี้ จุดเด่นของ 3G คือรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ส่วนจุดอ่อนของ 3G คือ การเปลี่ยนจาก 2G ปัจจุบันในประเทศไทยเรานั้นน่าจะเรียกว่าระบบ 2.9G คือจากระบบ 2G เป็น 2.5G จนมาเป็น 2.9G เช่น สามารถถ่ายภาพแล้วก็อัฟเดตขึ้น Facebook ได้เลย แต่ก็ยังต้องคอยอยู่ดี แต่ถ้าเป็น 3G แล้วก็จะเร็วขึ้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นก็เลยถือว่ามันไม่ได้ตอบสนองโจทย์ทั้งหมด เพราะถ้าจะพัฒนาระบบทั้งหมดให้เป็น 3G ต้องใช้งบลงทุนมากมายมหาศาล แต่สิ่งที่ได้มาบางทีอาจจะไม่คุ้มกับการใช้งานจริง ในส่วนของประเทศที่ใช้ 3G มานานแล้วเขามองว่าจะเปลี่ยนเป็นระบบ 4G กันแล้ว 4G เป็นเหมือนการสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกๆ 10 ปี
 
ความแตกต่างของ 4G 5G




 4G ยังไม่ได้รับการยืนยันถึงความเป็นไปได้ และความชัดเจนที่แน่นอนจากประเทศที่พัฒนาระบบนี้ )  ในบางครั้งหากเราต้องการดูภาพวีดีโอเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น  ก็สามารถรับชมได้ทันทีจากการส่งข้อมูลของผู้ที่เราสนทนาด้วย  เรียกได้ว่าเป็นการสื่อสารอย่างหูทิพย์ตาทิพย์แบบปัจจุบันทันด่วนเลยทีเดียว
สำหรับหลักการทางทฤษฎีนั้นจัดว่ามีความเป็นสากลอยู่มากไม่มีข้อยกเว้นในประเภทงานธุรกิจ หรือ ประเทศที่ใช้หลักการ 5G นี้ ตามปกติเมื่อมีการค้นพบหลักการทฤษฎีใหม่ขึ้น อาจทำให้ทฤษฎีเก่าที่มีอยู่ถูกลบล้างไปได้ง่ายๆ แต่ในกรณีของหลักการ 5G นี้ มิได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากกฎเกณฑ์ที่นำมาใช้ นอกจากจะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย หรือขนาดของธุรกิจแล้ว ยังมีความแตกต่างกันทางธรรมเนียมประเพณีและสภาพแวดล้อมของประเทศนั้นด้วย
สำหรับหลักการทางทฤษฎีนั้นจัดว่ามีความเป็นสากลอยู่มากไม่มีข้อยกเว้นในประเภทงานธุรกิจ หรือ ประเทศที่ใช้หลักการ 5G นี้ ตามปกติเมื่อมีการค้นพบหลักการทฤษฎีใหม่ขึ้น อาจทำให้ทฤษฎีเก่าที่มีอยู่ถูกลบล้างไปได้ง่ายๆ แต่ในกรณีของหลักการ 5G นี้ มิได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากกฎเกณฑ์ที่นำมาใช้ นอกจากจะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย หรือขนาดของธุรกิจแล้ว ยังมีความแตกต่างกันทางธรรมเนียมประเพณีและสภาพแวดล้อมของประเทศนั้นด้วย

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556


   เพื่อ  การวิเคราะห์และออกแบบระบบระบบสารสนเทศ คือ เราต้องรู้ว่าองค์กรเป็นอย่างไรก่อนทำธุรกิจอะไร ต้องการระบบอะไรเพื่อทีจะนำมาพัฒนาองค์กร ลดต้นทุกองค์กร แล้วนำสิ่งที่ได้มานั้นนำมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาเป็นระบบสนเทศ
ดังนั้น เพื่อเป็นเช่นนี้เราก็มารู้จักกันเลยว่า ระบบสารสนเทศคืออะไรก่อน มีหลายคนให้คำนิยามของระบบสารสนเทศไว้ ซึ่งมีหลากหลายกันไปแต่ผลสรุปก็คือมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อันเดียวกัน ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ประสิทธิภาพ (Efficiency)

1) ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุง้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็ว เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้านมีขีดความสามารถในการทำงานถึง 450 ล้านคำต่อนาที (million instructions per second) (Haag et al.,2000:19)

2) ระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย

3) ช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที

4) ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก

5) ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น (Turban et al.,2001)
ประสิทธิผล (Effectiveness)