วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

                       แบบฝึกหัด 8-9

1. ในการวางแผนองค์กร ประกอบด้วยกระบวนการพื้นฐานอะไรบ้าง

1. การวางแผน (Planning) คือการวางวัตถุประสงค์ การกำหนดเป้าหมาย การสร้างกลยุทธ์ และการตัดสินใจสรรหาแนวทางในการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้องค์การสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยแผนงานอาจมีความแตกต่างกันในด้านระยะเวลา เช่น แผนระยะยาว หรือแผนระยะสั้น เป็นต้น ตลอดจนมีความแตกต่างกันตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น แผนการเงิน แผนการตลาด หรือแผนการผลิต เป็นต้น
2. การจัดองค์การ (Organizing) คือการจัดการความสัมพันธ์ของกิจกรรมและบุคคลในองค์การให้มีความเหมาะสม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและเต็มความสามารถซึ่งจะทำให้องค์การสามารถดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามแผนการที่ตั้งไว้
3. การนำ (Leading) คือการที่หัวหน้างานหรือผู้จัดการใช้ภาวะผู้นำ (Leadership) ซึ่งต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการกระตุ้น ชักจูง และส่งเสริมให้บุคคลอื่นปฏิบัติตามที่ตนต้องการด้วยความเต็มใจ
4. การควบคุม (Controlling) เป็นการตรวจสอบและประเมินผลว่าแต่ละกิจกรรมที่กระทำตามแผนที่วางไว้สามารถดำเนินไปตามที่ได้วางแผนไว้หรือไม่ ตลอดจนสมควรที่จะมีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์การ


ตัวอย่างเช่นการวางแผนทรัพย์กรมนุษย์

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์

            การจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นกระบวนการที่ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์จะนำหลักการต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการที่จะทำให้องค์การมีบุคลากรที่มีคุณภาพมาร่วมงานอย่างเพียงพอและต่อเนื่องเพื่อให้องค์การสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้นนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถจะต้องสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ และทักษะต่างๆ เข้ามาประกอบในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้ผลงานที่ออกมามีคุณภาพและยังประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ บุคลากร และสังคมส่วนรวมได้ นอกจากนี้การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ประสบความสำเร็จจะต้องอาศัยขั้นตอนที่ละเอียดอ่อนมากมาย โดยขั้นตอนสำคัญที่ขาดไม่ได้ในงานทรัพยากรมนุษย์คือ การวางแผน (Planning) ผู้บริหารงานทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) ที่กว้างไกลสามารถเข้าใจสถานการณ์และวิเคราะห์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อทิศทางการดำเนินงานและความต้องการด้านบุคลากรขององค์การ เพื่อที่จะสามารถวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Planning : HRP) ได้อย่างรอบคอบ รัดกุม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละช่วงเวลาได้
ข้อ 2.การวางแผนกลยุทธ์มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งใด

การคาดการณ์ความต้องการด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ

            การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพนั้น นักบริหารทรัพยากรมนุษย์จะต้องทำการคาดการณ์ความต้องการบุคลากรขององค์การในแต่ละช่วงระยะเวลาอย่างถูกต้อง โดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตั้งแต่การรับบุคลากรเข้าทำงาน การฝึกอบรมและการพัฒนา การประเมินผลจนกระทั่งบุคลากรได้พ้นออกจากองค์การ โดยวิธีการคาดการณ์ที่มีความแม่นยำสูงจะส่งผลให้การวางแผนมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และสามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
            หัวข้อนี้จะกล่าวถึงวิธีการที่ถูกนำมาใช้ในการคาดการณ์ความต้องการด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ เพื่อให้ผู้สนใจได้มีความรู้และความเข้าใจในหลักการคาดการณ์ความต้องการด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมสำหรับนำไปปฏิบัติการวางแผนบุคลากรได้อย่างเป็นรูปธรรมในการปฏิบัติงานจริง โดยที่วิธีการคาดการณ์ด้านกำลังคนขององค์การที่นิยมใช้มีดังต่อไปนี้
            1. การคาดการณ์จากสมการพื้นฐาน  วิธีการนี้จะเป็นการคำนวณหาจำนวนบุคลากรที่องค์การต้องการในแต่ละช่วงเวลา จากสูตรพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ต่อไปนี้
            จำนวนบุคลากรที่ต้องการเพิ่มขึ้น จำนวนบุคลากรที่ต้องการทั้งหมด – จำนวนบุคลากรคงเหลือ
            จำนวนบุคลากรที่ต้องการทั้งหมด =                       จำนวนงาน
                                                                        อัตราส่วนของงานต่อบุคลากร

            2. การใช้แบบจำลองการวางแผนรวม (Aggregate Planning Model) วิธีการนี้จะคาดการณ์ปริมาณความต้องการบุคลากรขององค์การในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            3. การใช้วิธีการทางสถิติ (Statistical Forecasting Methods) วิธีการนี้จะนำหลักการ
ทางสถิติและคณิตศาสตร์ เช่น กำหนดการเส้นตรง (Linear Programming) และการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Technique) มาช่วยในการพยากรณ์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การในช่วงระยะเวลาที่สนใจ
            4. การใช้แบบจำลองของมาร์คอฟ (Markov – model) วิธีการนี้จะนำหลักการคณิตศาสตร์ขั้นสูงมาประยุกต์ในการศึกษาและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต เพื่อองค์การจะได้จัดเตรียมแผนในการสรรหา การคัดเลือก การฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละตำแหน่ง
ข้อ 3. จงสรุปขั้นตอนการวางแผนระบบสารสนเทศมาให้พอเข้าใจ


สรุป

            การวางแผนเป็นหน้าที่ที่สำคัญหน้าที่หนึ่งของการจัดการ ซึ่งประกอบด้วยการวางแผนการจัดองค์การ การนำและการควบคุมที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษา และการวางวัตถุประสงค์ การกำหนดเป้าหมาย การสร้างกลยุทธ์ และการตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อให้กิจกรรมต่างๆ ดำเนินไปโดยราบรื่น มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการโดยแผนที่ดีจะเป็นทั้งคู่มือและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้บุคคลหรือองค์การสามารถดำเนินการไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ได้
            การวางแผนทรัพยากรมนุษย์เป็นงานสำคัญที่นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องปฏิบัติ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ผู้เกี่ยวข้องต้องดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้แผนมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยการวางแผนทรัพยากรมนุษย์จะเป็นการกำหนดแนวทางสำหรับปฏิบัติด้านบุคลากร ตลอดจนเป็นการสร้างหลักประกันในเสถียรภาพและความต่อเนื่องในการดำเนินงานขององค์การ ว่าองค์การจะมีทรัพยกรมนุษย์ที่เหมาะสมทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ไม่สามารถกระทำแยกจากแผนรวมขององค์การได้ ดังนั้นผู้มีหน้าที่วางแผนทั้งสองระดับจึงต้องประสานงานกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แผนการทั้งสองมีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน ซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการดำเนินงาน
            การวางแผนที่มีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยการคาดการณ์อนาคตที่ถูกต้องและให้ภาพที่ชัดเจนปกติการวางแผนทรัพยากรมนุษย์นิยมใช้วิธิการต่อไปนี้ คือการคาดการณ์สมการพื้นฐาน การใช้แบบจำลองการวางแผนรวม การใช้วิธีการทางสถิติ และการใช้แบบจำลองของมาร์คอฟ โดยผู้มีหน้าที่วางแผนจะต้องเลือกวิธีการให้สอดคล้องกับแต่ละสถานการณ์ จากการพิจารณาระยะเวลาลักษณะของข้อมูล ค่าใช้จ่าย ความแม่นยำ และความง่ายในการนำไปใช้ โดยมีหลักการว่า วิธีการพยากรณ์ที่ดีไม่จำเป็นต้องยุ่งยาก ซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ต้องเป็นวิธีการที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ภายใต้ข้อจำกัดของแต่ละสถานการณ์

 ข้อ 4. วงจรพัฒนาระบบ SDLC มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้างจงอธิบาย

วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC)
„ วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) คืออะไร ? 
„ วงจรชีวิตของระบบที่นักวิเคราะหระบบจะตองทําความเขาใจ
„ A system life cycle divides the life of an information system into two stages, systems 
development and systems operation and support 
„ วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) มี 7 ขั้นตอน
„ 1. เขาใจปญหา (Problem Recognition) 
„ 2. ศึกษาความเปนไปได (Feasibility Study) 
„ 3. วิเคราะห (Analysis) 
„ 4. ออกแบบ (Design) 
„ 5. สรางหรือพัฒนา (Construction) 
„ 6. การติดตั้งหรือการปรับเปลี่ยน (Installation, Conversion) 
„ 7. บํารุงรักษา
ข้อ 5. จริยธรรมหมายถึงอะไร




คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"
จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว
ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้

๑. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว
๒. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา
๓. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท
๔. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง
๕. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้
ข้อ 6. ประเด็นทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทคแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง
1. ความหมายและความสําคัญของการจัดการความเสี่ยง
ความเสี่ยง (Risk) หมายถึงเหตุการณ์หรือการกระทําใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในสถานการณ์ที่
ไม่แน่นอน และจะส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหาย (ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน) หรือก่อให้เกิด
ความล้มเหลวหรือลดโอกาสที่จะบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ทั้งในด้านยุทธศาสตร์การ
ปฏิบัติงาน การเงิน และการบริการ ซึ่งอาจเป็นผลกระทบทางบวกด้วยก็ได้โดยวัดจากผลกระทบ
(Impact) ที่ได้รับ และโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) ของเหตุการณ์
ปัจจัยเสี่ยง (Risk Factor) หมายถึงต้นเหตุหรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยงที่จะทําให้ไม่บรรลุ
วัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้โดยต้องระบุได้ด้วยว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหน เมื่อใดและเกิดขึ้นได้อย่างไร
และทําไม ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงที่ระบุควรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้วิเคราะห์และกําหนด
มาตรการลดความเสี่ยงในภายหลังได้อย่างถูกต้อง
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึงกระบวนการระบุความเสี่ยงการวิเคราะห์
ความเสี่ยงและจัดลําดับความเสี่ยง โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ
(Impact) เมื่อทําการประเมินแล้ว ทําให้ทราบระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk) หมายถึงสถานะ
ของความเสี่ยงที่ได้จากการประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแบ่งออกเป็น 4 ระดับ
คือสูงมากสูง ปานกลางและต่ํา
การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) หมายถึงกระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการให้
ข้อ 7. อาชยากรรมทางคอมพิวเตอร์คืออะไร และจะมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างไร
 อาชญากรคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ มีการจำแนกไว้ดังนี้
                1. พวกมือใหม่ (Novices) หรือมือสมัครเล่น อยากทดลองความรู้และส่วนใหญ่จะมิใช่ผู้ ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย มิได้ดำรงชีพโดยการกระทำผิด  อาจหมายถึงพวกที่เพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                2.  Darnged person คือ พวกจิตวิปริต ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกชอบความรุนแรง และอันตราย มักเป็นพวกที่ชอบทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อม
                3.  Organized Crime พวกนี้เป็นกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกันทำผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ๆ ที่มีระบบ พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องหาข่าวสาร เหมือนองค์กรธุรกิจทั่วไป อีกส่วนหนึ่งก็จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม หรือใช้เทคโนโลยีกลบเกลื่อนร่องร่อย ให้รอดพ้นจากเจ้าหน้าที่
                4.  Career Criminal พวกอาชญากรมืออาชีพ เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาก กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจับผิดแล้วจับผิดเล่า บ่อยครั้ง
                5. Com Artist คือพวกหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน อาชญากรประเภทนี้จะใช้ความก้าวหน้า เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และความรู้ของตนเพื่อหาเงินมิชอบทางกฎหมาย
                6.  Dreamer พวกบ้าลัทธิ เป็นพวกที่คอยทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุ่นแรง
                7. Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถลักลอบเข้าสู่ระบบได้ โดยมีวัตถุประสงค์เข้าไปหาผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง มักเข้าไปทำลายหรือลบไฟล์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์ใช้การไม่ได้ รวมถึงทำลายระบบปฏิบัติการ
                8. นักเจาะข้อมูล (Hacker) ผู้ที่ชอบเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น พยายามหาความท้าทายทางเทคโนโลยีเข้าไปในเครือข่ายของผู้อื่นโดยที่ตนเองไม่มีอำนาจ
                9. อาชญากรในรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่นพวกลักเล็กขโมยน้อยที่ พยายามขโมยบัตร ATM ของผู้อื่น
                10. อาชญากรมืออาชีพ คนพวกนี้จะดำรงชีพจากการกระทำความผิด เช่นพวกที่มักจะใช้ ความรู้ทางเทคโนโลยีฉ้อโกงสถาบันการเงิน หรือการจารกรรมข้อมูลไปขาย เป็นต้น
                11. พวกหัวรุนแรงคลั่งอุดมการณ์หรือลัทธิ มักก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อ อุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา หรือสิทธิมนุษย์ชน เป็นต้น 
และนอกจากนั้นยังพบว่า ผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์มีลักษณะพิเศษดังต่อไปนี้
                1. ส่วนใหญ่มักมีอายุน้อย
                2. ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีวิชาชีพ
                3. ลักษณะส่วนตัวเช่น
                                - มีแรงจูงใจและความทะยานอยากสูงในการที่จะเอาชนะและฉลาด
                                - ไม่ใช่อาชญากรโดยอาชีพ
                                - กลัวที่จะถูกจับได้ กลัวครอบครัว เพื่อนและเพื่อนร่วมงานจะรู้ถึงการกระทำความผิดของตน

 

วิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและคอมพิวเตอร์

            1)  การใช้ username หรือ user ID และ รหัสผ่าน (password)  ผู้ใช้ควรเปลี่ยนแปลงด้วยตนเองในภายหลัง และควรหลีกเลี่ยงการกำหนดรหัสที่เป็นวันเกิด หรือรหัสอื่นๆ ที่   แฮกเกอร์สามารถเดาได้
             2)  การใช้วัตถุใด ๆ เพื่อการเข้าสู่ระบบ ได้แก่ บัตร หรือกุญแจ ซึ่งรหัสผ่านไม่ควรใช้ปีเกิด หรือจดลงในบัตร
            3)  การใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ (biometric device) เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคลเพื่อการอนุญาตใช้โปรแกรม ระบบ หรือการเข้าใช้ห้องคอมพิวเตอร์
            4)  ระบบเรียกกลับ (callback system) เป็นระบบที่ผู้ใช้ระบุชื่อและรหัสผ่านเพื่อขอเข้าใช้ระบบปลายทาง หากข้อมูลถูกต้อง คอมพิวเตอร์ก็จะเรียกกลับให้เข้าใช้งานเอง อย่างไรก็ตามการใช้งานลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าผู้ขอใช้ระบบใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากตำแหน่งเดิม คือ จากบ้าน หรือที่ทำงาน (หมายเลขโทรศัพท์เดิม)ในขณะที่การใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาอาจต้องเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า



วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


6. วิธีการชําระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง และท่านเคยใชหรือไม่อย่างไร


ระบบการชำระเงินคืออะไร         ระบบการชำระเงินหมายถึงกระบวนการส่งมอบหรือโอนสื่อการชำระเงินเพื่อชำระราคา โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ        (1) องค์กรและบุคคล หมายถึง ผู้จ่ายเงิน ผู้รับเงิน และองค์กรที่เป็นตัวกลางใน การชำระเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน เป็นต้น        (2) กระบวนการดำเนินการภายใต้กฎหมาย ระเบียบ ข้อตกลง กฎเกณฑ์ ธรรมเนียมปฏิบัติ ที่กำหนดบทบาท หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและบุคคลต่าง ๆ รวมถึงกลไกการชำระเงินที่เกี่ยวข้อง
        (3) สื่อการชำระเงินประเภทต่าง ๆ เช่น เงินสด ตราสารการเงิน บัตรพลาสติก การโอนเงินทางบัญชี ตลอดจนถึงการชำระเงินด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ระบบการชำระเงินมีกี่ประเภท อะไรบ้าง 


        เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ ระบบการชำระเงินอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือระบบการชำระเงินด้วยเงินสด และระบบการชำระเงินด้วยสื่อการชำระเงินประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินสด         ระบบการชำระเงินด้วยเงินสดจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่าง ๆ เช่น การจัดพิมพ์ธนบัตร การนำธนบัตรออกใช้ การรับและจ่ายเงินสดระหว่างธนาคารกลาง สถาบันการเงิน และบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการตรวจคัดธนบัตรชำรุดออกไปทำลาย และพิมพ์ธนบัตรใหม่ขึ้นทดแทนเป็นต้น
        ส่วนการชำระเงินด้วยสื่อการชำระเงินที่มิใช่เงินสด จำแนกได้เป็นการใช้สื่อการชำระเงินที่เป็นตราสาร เช่น เช็ค ดร๊าฟท์ ตั๋วแลกเงิน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับผู้สั่งจ่าย ผู้ทรงเช็ค ธนาคารที่เกี่ยวข้อง ระบบหรือวิธีการแลกเปลี่ยนเช็คระหว่างธนาคาร ตลอดจนกฏหมายเกี่ยวกับการใช้เช็คเป็นต้น สำหรับสื่อการชำระเงินที่มิใช่ตราสารเช่นระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะเกี่ยวข้องกับบุคคล สถาบันการเงิน รวมถึงระบบการโอนเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และระเบียบวิธีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องเป็นต้น
ระบบการชำระเงินมีความสำคัญอย่างไร
        ระบบการชำระเงินมีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือที่หล่อลื่นกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พัฒนาระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์ให้ระบบการชำระเงินของประเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการมีระบบอะไรบ้าง


        มี 3 ระบบได้แก่
        1. ระบบการโอนเงินรายใหญ่ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ระบบ BAHTNET
        2. ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ระบบ ECS
        3. ระบบการโอนเงินรายย่อยระหว่างธนาคาร หรือ ระบบ Media Clearing
























วิธีการชำระเงินที่ยอมรับมีอะไรบ้าง

คุณสามารถทำการสั่งซื้อผ่าน Google Wallet ได้โดยใช้บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรของขวัญที่มีโลโก้ดังต่อไปนี้:
  • American Express (ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น)
  • Discover (ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น)
  • MasterCard
  • Visa
  • Visa Electron (นอกสหรัฐฯ เท่านั้น)
นอกจากนี้ ลูกค้าบางคนอาจสามารถซื้อแอปพลิเคชันจาก Google Play ได้โดยใช้การเรียกเก็บเงินจากผู้ให้บริการโดยตรง
การยอมรับบัตรประเภทต่างๆ ของ Google Wallet จะแตกต่างกันไปตามที่อยู่ของผู้ขาย ปัจจุบันนี้ เรายังไม่ยอมรับวิธีการชำระเงินอื่นๆ เช่น เช็ค ธนาณัติ และการตัดเงินจากบัญชีธนาคารโดยตรง
หากผู้ขายไม่ยอมรับรูปแบบการชำระเงินบางอย่างจากประเทศใดประเทศหนึ่ง จะมีกล่องสีเหลืองแสดงบนหน้า “รักษา Wallet ให้ปลอดภัยด้วย Google”
หมายเหตุ: Google Wallet ไม่รับการโอนเงินผ่านธนาคารหรือการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการชำระเงินผ่าน Western Union/Money Gram หรือรูปแบบการชำระเงินอื่นใดทั้งสิ้น




5. รูปแบบธุรกิจของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2B,B2C,C2C,Click and Motar,Click and Click

1. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to-Business หรือ B2B) หมายถึง การซื้อขายระหว่างผู้ผลิตด้วยกัน เช่น ผู้ผลิตรถยนต์สั่งซื้อวัตถุดิบจากโรงงานที่เป็น Supplierหรือ ร้านค้าปลีกสั่งซื้อสินค้ากับบริษัทผู้ผลิตสินค้า เมื่อสต็อกสินค้าลดลงถึงระดับหนึ่ง ผ่านระบบ EDI  โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อและผู้ขายมักจะรู้จักกันล่วงหน้า และอาจทำเอกสารสัญญาที่เป็นกระดาษกันล่วงหน้า ดังนั้นความเสี่ยงที่เกิดจากการซื้อขายจะต่ำ
ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Business  (B2B)


2. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับบริโภค(Business-to-Consumer หรือ B2C) หมายถึง การที่ธุรกิจขายสินค้าหรือบริการโดยตรงให้กับผู้บริโภค ช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถฉกฉวยเป็นโอกาสในการต่อสู้กับบริษัทขนาดใหญ่ได้
ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Consumer  (B2C)




3. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer-to-Consumer หรือ C2C)เป็นการค้าระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือระหว่างผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยกันเอง
ตัวอย่างเว็บไซต์ Consumer-to-Consumer  (C2C)
www.ebay.com


เป็นเว็บไซต์ที่ผู้บริโภคสามารถนำสินค้ามาฝากขายหรือใช้บริการของเว็บนี้เปิดร้านเพื่อขายสินค้าแก่ผู้บริโภคคนอื่นได้

www.thaisecondhand.com


เป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้ามือสองก็เป็นธุรกิจแบบ C2C เช่นกัน
4. Click-and-Mortar Business Strategy หรือ Bricks-and-clicks Business Strategy หรือHybrid Strategyคือ เป็นกลยุทธ์ที่ผสมระหว่าง 2 กลยุทธ์แรกมารวมกัน โดยมีทั้งหน้าร้านซึ่งลูกค้าสามารถเดินเลือกซื้อช่องทางการค้าบนอินเตอร์เน็ตจะทำให้ลูกค้ามีควาสะดวกสบายมากขึ้นสามารถทำธุรกรรมต่างๆ เช่น ซื้อขายได้จนจบ ไม่ต้องไปหน้าร้านจริงก็ได้ เช่น KFC
ข้อดี คือ ทำให้เป็นการเพิ่มช่องทางการค้าอีกทางหนึ่ง มีโอกาสสร้างยอดขาย กำไรได้มากขึ้น และทำให้บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น ในหลากหลายรูปแบบ
ข้อเสีย คือ เกิดความขัดแย้งในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และอาจสร้างความไม่พอใจให้กับพนักงานที่ทำงานอยู่ในร้านค้ากายภาพ เนื่องจากตนเองต้องสูญเสียผลประโยชน์จากการที่บริษัท เมื่อมีการขายของได้ผ่านทางช่องทางออนไลน์
www.kfc.co.th




5.click and click คือ E-Commerce ที่มีรูปแบบการค้าขายหรือการให้บริการ ผ่านทางเว็บไซต์และอินเทอร์เน็ต เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ไม่มีธุรกิจหรือหน้าร้านค้าจริงๆ ให้คนสามารถไปซื้อหรือรับสินค้าได้ ดังนั้นเมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์จะทำการส่งสินค้าไปให้ลูกค้าถึงที่อยู่ของลูกค้านั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์
 
http://www.tohome.com/





2. ให้นักศึกษาบอกประโยชน์ของการค้าแบบออนไลน์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
              1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
              2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
              3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
              4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
               5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์
              ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
               6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
               7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
               8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ
3. ให้นักศึกษาข้อจำกัดของการค้าแบบออนไลน์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
                1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
                2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้
                3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
                4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
                5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน





3.ประโยนช์และข้อจำกัดของ e-commerce มีอะไรบ้าง 



ประเภทของ E-Commerce

ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)
คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น

ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือ การค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป

ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือ การติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น

ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G)
คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัด ค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com

ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)
ใน ที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย
ข้อดีข้อเสีย



Item Code : goodbad001

มีอีเมล์มาถามปัญหาว่า “อยากทราบความคิดเห็นค่ะ ว่าข้อดีและข้อเสียของการขายของบนอินเตอร์เน็ตมันมีอะไรบ้าง รบกวนหน่อยนะคะช่วยตอบด้วย” ....... ไม่ได้ระบุว่าขายอะไร ...เอาไปแบบกว้างๆ นะ เพราะไม่ได้เจาะจงสินค้า
การขายของบนอินเทอร์เน็ตนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เริ่มด้วยข้อดีก่อนแล้วกัน ..

ข้อดีข้อแรก คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะการสร้างร้านค้าบนเว็บไซต์ใช้ต้นทุนต่ำ บางเว็บไซต์ก็มีระบบให้สร้างร้านค้าออนไลน์ฟรี ไม่ต้องเสียเงินจ้างพนักงานมาก ไม่ต้องสต๊อกสินค้าเยอะ ทำให้ขายสินค้าได้ในราคาถูก

ข้อดีข้อสอง บริการลูกค้าได้กว้างขวางกว่า หาลูกค้าได้ทั่วโลก ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง

ข้อดีข้อสาม ร้านค้าที่มีระบบชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ลูกค้ามักตัดสินใจซื้อได้ทันที ถือเป็นการอำนวยความสะดวก

ข้อดีข้อสี่ บริหารร้านค้าง่าย โดยเฉพาะการปรับปรุงข้อมูลต่างๆ (เพิ่ม, ลดสินค้า, ราคา) กระทำได้ทันที ทุกสถานที่ (ที่ต่ออินเทอร์เน็ต) ในเวลาอันรวดเร็ว

ข้อดีข้อห้า ร้านค้าออนไลน์ในยุคปัจจุบัน สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบ ได้อย่างสมจริง รวมถึงเว็บบอร์ดที่ให้ลูกค้ากรอกความคิดเห็นได้

ข้อดีข้อหก ชื่อโดเมนเนมร้านค้าที่ดีจะสร้างการจดจำให้ลูกค้าได้มากกว่าหมายเลขโทรศัพท์หรือชื่อผู้ประกอบการ

ข้อดีข้อเจ็ด ระบบสถิติ (ผู้เข้าชม, หน้าที่เข้าชมบ่อย ฯลฯ ) หลังร้านสามารถนำมาวิเคราะห์แผนการตลาดในอนาคตได้

ข้อดีข้อแปด สร้างภาพพจน์ให้ธุรกิจ ว่าเป็นองค์กรทันสมัยทันยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อดีข้อเก้า ถ้าขายซอฟต์แวร์ เมื่อลูกค้าชำระเงินแล้ว โปรแกรมสามารถส่ง Password ไปให้ลูกค้าดาวน์โหลดได้ทันที

ยังมีข้อดีอื่นๆ อีกมากมาย คราวนี้มาดูข้อเสียบ้าง...

ข้อเสีย



ข้อเสียแรก คือ ลูกค้าขาดความเชื่อมั่น เพราะต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ ใครๆ ก็สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ได้

ข้อเสียข้อสอง คือลูกค้าไม่ได้เห็น หรือสัมผัสสินค้าของจริง (ได้แต่ดูรูป) ไม่รู้รส, กลิ่น ฯลฯ

ข้อเสียข้อสาม สินค้าที่จับต้องได้ ต้องเสียเวลาขนส่ง ลูกค้าจำเป็นต้องรอ

ข้อเสียข้อสี่ การแข่งขันสูง ยากที่ลูกค้าจะหาร้านค้าออนไลน์เจอ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำตลาดค่อนข้างมาก

ข้อเสียข้อห้า ความศักดิ์สิทธิ์ของกฏหมายการค้าออนไลน์ และยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐฯ อย่างแท้จริง

ข้อเสียข้อหก แม้จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจะเพิ่มมากขึ้น แต่คนไทยยังระมัดระวังเรื่องการซื้อของบนอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะข่าวกลโกงออนไลน์ต่างๆ
ข้อเสียข้อเจ็ด ความเสถียรของแม่ข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้อยู่ กรณีการเช่าโฮสติ้งที่มีราคาถูก หรือบริการฟรี อาจไม่ได้รับการดูแลแก้ไขในกรณีที่เกิดเว็บล่ม หรือโหลดช้า
ข้อเสียข้อแปด ทำเว็บไซต์เสร็จแล้ว แต่ประชาสัมพันธ์ไม่เป็น กลุ่มเป้าหมายไม่รู้จัก

ข้อเสียข้อเก้า ข้อมูลและภาพของสินค้าไม่น่าสนใจ, มีราคาแพง, ไม่มีบริการหลังการขาย หรือแม้แต่สถานที่ที่รับแก้ไขปัญหาภายหลัง

ข้อเสียคิดได้ตอนนี้เก้าข้อเท่ากันจะได้ไม่ลำเอียง ผู้ที่จะตัดสินใจตั้งร้านบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตลองไปชั่งใจดู



4.เทคโนโลยี EDIมีความสำคัญต่าe-commerce อย่างไร



E-commerce คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้
ในโลกยุคไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารมีความสะดวกสบายมากขึ้นโดยเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทและกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของหลายๆคน อินเตอร์เน็ตเปรียบเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมากมายในโลกไว้ด้วยกัน ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านต่างๆ เช่น ทางด้านการศึกษา การแพทย์ การค้า สื่อโฆษณาและอื่นๆมีความเกี่ยวข้องกับผู้คนในทุกสาขาอาชีพ
  1. ในส่วนของการค้านั้นอินเตอร์เน็ตมีบทบาทเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic   Commerce) เรียกย่อๆว่า “E-Commerce หรือธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) หรือบางครั้งก็มีผู้เรียกกันง่ายๆว่า ธุรกิจดอทคอม” ในความเป็นจริงการดำเนินธุรกิจการค้าที่มีการซื้อขายและการบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจอยู่ในรูปแบบของระบบอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ และโทรสาร หรือการค้าขายโดยแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า EDI (Electronic Data Interchange) ถือว่าเป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น การที่มีเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้า ทั้งยังสามารถดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่งโมง โดยไม่ว่าคุณจะอยู่ที่มุมไหนในโลกก็สามารถซื้อสินค้านั้นๆได้ E-Commerce เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตกับการจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยการนำเสนอข้อมูลข้อมูลสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตสู่สายตาคนทั่วโลกภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้เกิดช่องทางการค้ามากขึ้น ทั้งยังก็ให้เกิดรายได้ในระยะเวลาอันสั้น และในปัจจุบันได้มีผู้ให้บริการทางด้านต่างๆที่ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวก เช่น การชำระเงินค่าสินค้าโดยสามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือ โอนเงินผ่านทางธนาคาร รวมถึงมีผู้ให้บริการทางด้านการขนส่งที่สามารถขนส่งสินค้าไปยังทุกจุด



 เทคโนโลยี EDIมีความสำคัญต่าe-commerce อย่างไร


1. EDI ( Electronic Data Interchange ) คืออะไร ?


      EDI คือ การแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้าในรูปแบบมาตรฐานสากลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง มีสององค์ประกอบที่สำคัญในระบบ EDI คือ การใช้ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มา แทนเอกสารที่เป็น
กระดาษ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานสากล ด้วยสองปัจจัยนี้ ทุกธุรกิจสามารถ แลกเปลี่ยนเอกสารกันได้
ทั่วโลก

2. ประโยชน์ของ EDI คืออะไร ?


      ประโยชน์หลัก ๆ ของ EDI ต่อธุรกิจ มีดังต่อไปนี้ 
    - เพิ่มความถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ ในการรับ-ส่งเอกสาร
    - ลดงานซ้ำซ้อน และลดขั้นตอนการจัดการรับ-ส่งเอกสาร
    - สามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์มากที่สุด
    - ลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร เช่น ค่าแสตมป์ ค่าพัสดุไปรษณีย์ และพนักงาน
    - เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงขึ้น
    - เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า

3. เหตุใดจึงต้องใช้รูปแบบมาตรฐานสากล สำหรับเอกสาร EDI ? 


      มาตรฐานเอกสาร EDI เปรียบเสมือนภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคู่ค้า มาตรฐานเอกสาร EDI ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก มีอยู่หลายมาตรฐาน อาทิเช่น
 ANSI X12 ซึ่งใช้แพร่หลายในประเทศอเมริกา และประเทศ ออสเตรเลีย ODDETTE, TRADACOMS ซึ่งใช้กันอยู่ในประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปสำหรับประเทศในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ส่วนใหญ่จะใช้ มาตรฐานของ UN/EDIFACT ซึ่งย่อมาจาก United Nation/Electronic Data Interchange for Administration, Commerce, and Transportation เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย United Nation ขณะนี้ หลายๆ ประเทศ กำลังพยายามปรับมาตรฐานของตนให้เข้ากับมาตรฐานนี้เนื่องจากมีการค้า ระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็น ลำดับ

4. เอกสารประเภทใดบ้างที่ใช้ EDI มาทดแทนได้ ?


      เอกสารทางธุรกิจที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ สามารถทดแทนด้วยเอกสาร EDI ได้ทั้งหมด เช่น
เอกสารทางด้านการจัดซื้อ ได้แก่ ใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ใบแจ้งหนี้ (Invoice) ใบเสนอราคา (Quotation) ใบแจ้งราคาสินค้า (Price/Sales Catalogue) เป็นต้น
 เอกสารทางด้านการเงินได้แก่ ใบสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน (Payment Order) ใบแจ้งการสั่งจ่าย (Remittance Advice) เป็นต้น
 เอกสารทางด้านการขนส่ง ได้แก่ ใบตราส่ง (Bill of Lading) ใบจองตู้สินค้า (Booking) แผนผังการบรรทุกสินค้าภายในเรือ (Bayplan) ใบสั่งปล่อยสินค้า (Delivery Order) เป็นต้น
 เอกสารทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ใบขนสินค้า (Customs Declaration) บัญชีตู้สินค้า (Manifest) เป็นต้น

5. ธุรกิจประเภทใดที่สามารถนำ EDI มาใช้ได้ ?


      ทุกธุรกิจที่มีการใช้เอกสารจำนวนมากและเป็นประจำโดยมีขั้นตอนซ้ำๆ แต่ต้องการความถูกต้องรวดเร็วและแม่นยำ ของข้อมูล เช่นธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ที่ต้องมีการสั่งซื้อสินค้าเป็นประจำ ธุรกิจขนส่งซึ่งต้องใช้ข้อมูลประกอบในการจัดการ ขนส่งสินค้า ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตสินค้า ที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น

6. ผลกระทบของการใช้ EDI กับระบบการทำงานของพนักงานในปัจจุบัน ?


      หลายท่านอาจกังวลว่า การนำเอา EDI มาใช้จะเข้ามาทดแทนการทำงานของพนักงาน ส่งผลให้พนักงานว่างงาน แต่ ที่จริงแล้ว EDI สามารถช่วยลดงานเอกสารที่มีปริมาณมาก และต้องทำซ้ำ ๆ ทำให้เราสามารถนำพนักงานที่มีอยู่ไป พัฒนาให้ทำงานประเภทอื่นๆ ที่มีคุณค่าเพิ่มให้กับบริษัทได้ ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพการทำงานให้แก่พนักงานและบริษัท
7. EDI ทำงานอย่างไร ?
      ขั้นตอนการทำงานของระบบ EDI มีดังนี้
          1. ผู้ส่งทำการเตรียมข้อมูล และแปลงให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน UN/EDIFACT โดยใช้ Translation Software
          2. ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลไปยังศูนย์บริการของผู้ให้บริการ EDI ผ่านเครือข่ายสาธารณะโดยใช้ Modem
          3. ผู้ให้บริการ EDI จะจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ในตู้ไปรษณีย์ (Mailbox) ของผู้รับเมื่อข้อมูลไปถึงศูนย์บริการ
          4. ผู้รับติดต่อมายังศูนย์บริการผ่าน Modem เพื่อรับข้อมูล EDI ที่อยู่ในตู้ไปรษณีย์ของตน
          5. ผู้รับแปลงข้อมูลกลับโดยใช้ Translation Software ãË้อยู่ในรูปแบบที่ระบบงานของตนสามารถรับไป
ประมวลผลได้

8. Translation Software คืออะไร ? 

       Translation Software คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน เช่น มาตรฐาน UN/EDIFACT, ANSI X12 ท่านสามารถซื้อโปรแกรมดังกล่าวได้จากผู้ให้บริการ EDI หรือบริษัทคอมพิวเตอร์ ที่จำหน่าย
ซอฟต์แวร์เหล่านี้
9. หน้าที่ของผู้ให้บริการ EDI หรือที่เรียกกันว่า VAN คืออะไร ?
       ผู้ให้บริการ EDI ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางไปรษณีย์ ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างคู่ค้า ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยปกติผู้ให้บริการ EDI สามารถให้บริการในการรับ-ส่งข้อมูล ทั้ง EDI, File Transfer (non-EDI) และ E-mail ความรับผิดชอบหลักของผู้ให้บริการ EDI นอกจากการรับ-ส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ยังต้องสามารถ รักษาความปลอดภัย ของตู้ไปรษณีย์( Mailbox) ของลูกค้าแต่ละราย มิให้ผู้อื่นเข้าไปดูข้อมูลได้อีกด้วย

10. ขอบเขตการให้บริการ EDI กว้างขวางเพียงใด ?

         ท่านสามารถรับ-ส่งเอกสาร EDI ได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เราแบ่งผู้ให้บริการ EDI หรือที่เรียกว่า VAN (Value Added Network) เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
- ผู้ให้บริการ EDI ภายในประเทศ (Domestic VAN) เช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัทชินวัตร, บริษัทไทยเทรดเน็ท, และบริษัทเอ็กซิมเน็ท บริษัทเหล่านี้มีศูนย์บริการ (Host) อยู่ในประเทศและจะให้บริการเครือข่าย ภายในประเทศเป็นหลัก
 ผู้ให้บริการ EDI ระหว่างประเทศ (International VAN) เช่น IBM , BT , AT&T บริษัทเหล่านี้มีศูนย์บริการ (Host) อยู่ต่างประเทศ และให้บริการเครือข่ายระหว่างประเทศเป็นหลัก
        ท่านสามารถเลือกใช้บริการของผู้ให้บริการ EDI ตามความเหมาะสมกับการใช้งานในธุรกิจ ตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีเอกสารรับส่งระหว่างประเทศเป็นหลัก ควรเลือกใช้ผู้ให้บริการ EDI ระหว่างประเทศ ส่วนบริษัทที่มีเอกสาร รับส่งภายในประเทศเป็นหลัก ควรใช้บริการของผู้ให้บริการ EDI ภายในประเทศ เพราะค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่า

11. เหตุใดจึงต้องใช้บริการของ VAN (Value Added Network) ?

         หลาย ๆ บริษัทอาจคิดว่าควรติดต่อกับคู่ค้าด้วยตนเองมากกว่าการใช้บริการของ VAN เนื่องจาก มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยไม่จำเป็น หากแต่ปัญหาที่ต้องประสบ รวมถึงปริมาณงานที่เกิดเพิ่มขึ้นมีดังต่อไปนี้
 การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบ ระหว่างท่านและคู่ค้าซึ่งจะมีความยุ่งยากเพิ่มขึ้น หากท่านมีคู่ค้าเป็นจำนวนมาก ต้องบริหารเครือข่ายการสื่อสารด้วยตนเอง โดยท่านต้องรับภาระในการดูแลทั้งอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ Modems การส่ง และรับข้อมูล สายโทรศัพท์ และอื่น ๆ
ขาดผู้ชำนาญงานในการฝึกอบรมพนักงานให้เข้าใจถึง EDI
ต้องลงทุนสูงทางด้านอุปกรณ์เครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

12. ข้อแตกต่างระหว่าง EC (Electronic Commerce) กับ EDI (Electronic Data Interchange) ?

         Electronic Commerce หรือ อิเล็กทรอนิกส์วาณิชย์ หมายรวมถึงการค้าขายโดยใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อกลาง เช่น การแลกเปลี่ยนเอกสารโดยใช้ EDI การจ่ายเงินโดยใช้บัตรเครดิตผ่านสายโทรศัพท์ การโฆษณาและสั่งซื้อสินค้าผ่าน Internet เป็นต้น ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า EDI เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ EC
13. EDI กับ E-mail แตกต่างกันอย่างไร ?
         E-mail เป็นการส่งข้อความซึ่งไม่มีรูปแบบบังคับ เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ไม่มีมาตรฐานกำหนดตายตัว ต่างจาก EDI ซึ่งข้อมูลต้องมีรูปแบบที่แน่นอนภายใต้รูปแบบมาตรฐานสากล เนื่องจาก EDI เป็นการสื่อสารระหว่าง คอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถ นำข้อมูลเข้าสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ของบริษัทคู่ค้าได้ทันที โดยไม่ต้องมีคนบันทึกข้อมูลซ้ำ

14. ประโยชน์และข้อแตกต่างระหว่างการใช้ EDI กับ Fax ในการรับ-ส่งเอกสาร ?

         สำหรับผู้รับเอกสาร ท่านสามารถนำข้อมูล EDI ี่ได้รับมาจากบริษัทคู่ค้าขึ้นสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ของท่านได้ทันที โดยไม่ต้องทำการบันทึกข้อมูลซ้ำ ซึ่งเป็นการลดระยะเวลาและข้อผิดพลาด แตกต่างจากการรับเอกสารทาง Fax ซึ่งส่วน ใหญ่จะประสบกับปัญหากระดาษหมด ข้อความไม่ชัดเจน อ่านไม่ได้ อีกทั้งยังไม่มีการรายงานสถานภาพความถูกต้อง สมบูรณ์ของ เอกสารที่ได้รับสำหรับผู้ส่งเอกสาร ท่านสามารถนำข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์ของท่าน ผลิตเอกสาร EDI และส่งไปยังคู่ค้าโดยไม่ต้องมีการใส่ข้อมูลหรือพิมพ์ออกมาในแต่ละครั้งของการส่งหากท่านส่งเอกสารผ่านเครื่อง Fax โดยทั่วไปเอกสารต้องถูกจัดพิมพ์ออกมาก่อนจะส่งไปยังคู่ค้า เป็นการเพิ่มทั้งปริมาณงานและปริมาณเอกสารกระดาษที่ใช้

15. อุปกรณ์ที่ต้องจัดเตรียมในการนำ EDI มาใช้ในบริษัท ?

         ระบบ ED Iที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกมีอยู่มากมายหลายระบบ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างน้อยในระบบ EDI ที่ใช้ Personal Computer เป็นตัวกลางในการรับ-ส่งข้อมูล
 เครื่อง PC รุ่น 486 ขึ้นไป ที่มีหน่วยความจำอย่างน้อย 4 MB
 Translation Software
Modem
16. ค่าใช้จ่ายในการนำระบบ EDI มาใช้มีส่วนใดบ้าง ?
         ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ EDI ไม่รวมถึงค่าอุปกรณ์ (Hardware) โดยทั่วไปจะประกอบด้วย 
         1. ค่า Set up Mailbox
         2. ค่า Translation Software
         3. ค่าบำรุงรักษา Mailbox รายเดือน
         4. ค่าใช้บริการ (Transaction) โดยปกติคิดจากปริมาณข้อมูลที่รับส่ง (เป็นจำนวน บาท ต่อ 1024 ตัวอักษร)
17. Interconnection หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร ?
          Interconnection หมายถึงการเชื่อมต่อระบบกันระหว่างผู้ให้บริการ EDI เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ให้สามารถติดต่อ รับ-ส่งข้อมูล EDI กับคู่ค้าได้ทั้งหมด โดยเป็นสมาชิกของผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งเท่านั้น ซึ่ง นอกจากจะเป็นการอำนวยความสะดวกแล้ว ยังประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย การ Interconnect อาจทำได้ระหว่างผู้ให้ บริการภายในประเทศ หรือกับผู้ให้บริการ EDI ในต่างประเทศ

18. Internet มีประโยชน์กับ EDI หรือไม่ ?


         การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีแนวโน้มที่จะขยายขอบเขตการใช้งานไปยังองค์กรต่างๆ ในภาครัฐ และเอกชนอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ของจำนวนผู้ใช้ปริมาณการใช้ และลักษณะการใช้งานเครือข่าย Internet เป็นเครือข่ายที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลกโดยไร้ขอบเขต หากการพัฒนาเทคโนโลยีสามารถแก้ปัญหาเรื่องความ ปลอดภัยของการส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่าย Internetได้แล้วนั้นจะทำให้การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ และเหมาะกับการใช้เป็นช่องทางการส่งข้อมูล EDI ในอนาคต

19. มีกฎหมายรองรับ EDI ในประเทศไทยหรือไม่ ?


         การใช้ EDI ในประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ จะไม่มีกฎหมายบังคับหรือรองรับโดยตรง ทางออกที่หลายๆ ประเทศ เริ่มนำมาใช้คือ การทำสัญญาระหว่างคู่ค้าที่รับ-ส่ง EDI กัน โดยระบุความรับผิดชอบ หากความผิดพลาดเกิดมาจาก การปฎิบัติของคู่ค้า สำหรับประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส โดยตรงยังไม่มีการประกาศใช้ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของการพัฒนาระบบ EDI ในประเทศ สำนักงาน เลขานุการ คณะกรรมการเทคโนโลยี สารสนเทศแห่งชาติ ได้เล็งเห็นปัญหาน ี้จึงมีการศึกษาหาแนวทางในการพัฒนา กฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะในเรื่องการให้การรับรองและอ้างอิงเอกสารตัวจริง ภาระความรับผิดชอบในความผิดพลาด ของข้อมูลที่เกิดขึ้น และมีแผนที่จะดำเนินการปรับปรุง แก้ไขกฎหมายที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบ
          อย่างไรก็ดี จะเห็นว่าปัญหาของกฎหมาย รับรอง EDI ไม่ใช่ปัญหาหลัก ในการนำเอา EDI มาใช้ในธุรกิจใน ภูมิภาคต่าง ๆ เช่น อเมริกาและยุโรป เนื่องจาก EDI ได้มีบทบาทมาเป็นระยะเวลามากกว่า 30 ปี และธุรกิจต่าง ๆ มีความ เข้าใจและเล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ของ EDI เป็นอย่างดี

20. ปัญหาและอุปสรรคของการใช้ EDI ในปัจจุบัน ?


         การนำ EDI มาใช้ในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน แม้ว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อองค์กรต่างๆ แต่ก็ยังคงมีปัญหา และอุปสรรคที่ทำให้การใช้ EDI ในประเทศไทยไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ดังนี้
ผู้บริหารระดับสูงไม่ให้ความสนใจและไม่มี Commitment ที่ชัดเจน
องค์กรส่วนใหญ่ ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง EDI
ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนระบบงานและขั้นตอนการบริหารงานภายใน
ขาดผู้ชำนาญงานทางด้าน IT ที่จะนำ EDI ไปใช้ให้สอดคล้องกับระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่
กฎหมายและระเบียบของหน่วยงานราชการ ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้ EDI

21. Bar Code และ EDI เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?


         Bar Code มีประโยชน์หลักในการทำให้การรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร เป็นไปได้ อย่างสะดวก รวดเร็วและถูกต้อง ส่วน EDI มีระโยชน์ในแง่ที่ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ระหว่างองค์กร เป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้อง การใช้ Bar Code จะมีประโยชน์แบบครบวงจร ถ้าข้อมูลที่รวบรวมได้จาก Bar Code สามารถแลกเปลี่ยนกับบริษัทคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วย EDI ในขณะเดียวกัน การใช้ EDI จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต่อเมื่อคอมพิวเตอร์ของแต่ละบริษัท สามารถอ้างถึงสินค้า สถานที่ ฯลฯ โดยใช้รหัสเดียวกันตามมาตรฐานสากลของ Bar Code เช่น EAN Product Code หรือ EAN Location Number ดังนั้นหากสามารถนำ BarCode และ EDI มาใช้ร่วมกันได้จะทำให้การจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น